RSS

วิชาเคมี

คลิกเพื่อเข้าเรียนรายคาบพร้อมแบบฝึกหัดกับครูกุ๊กเรียนฟรีไม่มีเสียตังค์

คลิกเพื่อเข้าติวและเข้าเรียนวิชาเคมีกับติวเตอร์พอยท์

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊

สรุปเนื้อหา เคมี ม.ปลาย เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย สอนโดย อ.อุ๊ กูรูเคมีอันดับ 1 ของประเทศไทยที่ครองตำแหน่งมาอย่างยาวนาน คลิปวีดีโอสรุปเนื้อหาเคมีชุดนี้ ดูบนเว็บได้เลย ชุดที่ 1 มี 8 ตอนจบครับ ยาวประมาณ 80 นาที

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.1

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.2

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.3

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.4

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.5

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.6

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.7

สรุปเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ตอนที่ 1.8

จบกันไปแล้วสำหรับสรุปเนื้อหาเคมี ม.ปลาย โดย อ.อุ๊ ชุดที่ 1 เรียนกันหัวฟูไปข้างเลยนะครับ แต่ต้องยอมรับเลยว่า อ.อุ๊ สอนดีจริงๆ แค่ 80 นาทียังรุ้เรื่องขนาดนี้ ถ้าไปเรียนทั้งเทอมล่ะก็ เทพเคมีได้ง่ายๆเลยนะเนี่ย แถมลิ๊งค์เว็บของ อ.อุ๊ไว้ด้วย เผื่อใครสนใจนะครับ http://www.chem-ou.com/

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 1/6

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 2/6

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 3/6

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 4/6

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 5/6

ปริมาณสารสัมพันธ์ อ.อุ๊ Part 6/6

ปริมาณสารสัมพันธ์

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกันในปฏิกิริยาเคมีโดยอาศัยสมการเคมีที่ดุลแล้ว

สมการเคมี

คือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเขียนอธิบายได้ในรูปของสมการเคมี เช่น

N2 + 3H2         =>            2NH3

สารตั้งต้น                       สารผลิตภัณฑ์

สมการเคมีที่ดุลแล้ว หมายถึง สมการที่แสดงจำนวนอะตอมของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาเท่ากับหลังเกิดปฏิกิริยา เช่น

K          +      CH3I          =>               KI         +       CH3

สมการก่อนดุล:                H2   +      O2            =>              H2O

สมการหลังดุล:               2H2 +      O2             =>            2H2O

การตีความสมการเคมี ใช้กับสมการเคมีที่ดุลแล้วเท่านั้น

เช่น                            CH4(g)        +         2O2(g)         =>      CO2(g)        +        2H2O(l)
โมเลกุล                            1                              2                              1                              2
โมเลกุล                   6.02 * 1023          2(6.02 * 1023)         6.02 *1023          2(6.02 * 1023)
โมล                                 1                              2                              1                              2

กรัม                               16                           64                            44                            36

กล่าวได้ว่า CH4 1 โมล ทำปฏิกิริยากับ O2 2 โมล เกิด CO2 1 โมล และ H2O 2 โมล

ตัวอย่างการคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสาร

EX1         เมื่อเผา KClO3 3.5 โมล เกิดปฏิกิริยาดังนี้          2 KClO3  => 2KCl + 3O2

ถามว่า จะมี O2 เกิดขึ้นกี่โมล, กี่กรัม, กี่ลิตรที่ STP
วิธีทำ:

เผา KClO3       2      โมล เกิด O2         3  โมล

เผา KClO3       3.5  โมล เกิด O2          3/2 * 3.5 = 5.25 โมล

O2   1        โมล มีมวล                           32 กรัม

O2   5.25  โมล มีมวล                           32 * 5.25 = 168 กรัม

O2   1        โมล มีปริมาตร                      22.4 ลิตรที่ STP

O2   5.25  โมล มีปริมาตร                      22.4 * 5.25 = 117.6 ลิตรที่ STP

.: ตอบ  มี O2 เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา 5.25 โมล, 168 กรัม, 117.6 ลิตรที่ STP #

เห็นมั๊ยว่าไม่ยากเลย ค่อยๆเทียบบัญญัติไตรยางค์ไปเรื่อยๆ ลองดูตัวอย่างที่สองกันนะครับ

EX2          จาก 3CO(g) + Fe2O3(s)  =>  2Fe(s) + 3CO2(g)

ถ้ามี Fe เกิดขึ้น 224 g ต้องใช้ CO กี่ลิตรที่ STP (Fe = 56)

วิธีทำ:

Fe  2 โมล  เกิดจาก CO       3  โมล

Fe  4 โมล  เกิดจาก CO      =3/2 * 4 = 6 โมล

V = n (22.4)

= 6 (22.4)

=134.4 ลิตรที่ STP

           .: ตอบ ต้องใช้ CO ปริมาตร 134.4 ลิตรที่ STP #

ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.tewfree.com/  ขอให้ท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญนะครับ

 

ใส่ความเห็น